วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
1.   ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น
    2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
    3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
    4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
    5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
    6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

สู้เพื่อแม่

ความรักเเสนอัศจรรย์
เเม่ คือผู้ที่ให้ ความรัก ความห่วงใย อภัย และชีวิต
ความรัก         
ความรักของเเม่นั้นจะหาใดเปรียบไม่ได้เพราะ เเม่ให้ความรัก ทุกวัน ทุกนาที ทุกชั่วโมง เเล้ว ทุกวินาที เมื่อเรากังวลใจเราก็มีคนคอยเดินเขียงข้างเราเเละเเนะนำเราในทางที่ถูกต้องอยูเสมอ ตั้งแต่เล็กจนโตมา มีแม่คนเดียวเท่านั้นที่คอยให้ความรักที่จริงใจ จริงจัง และไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ลูกก็อยากจะตอบแทนแม่ด้วยความรักที่ลูกมีต่อแม่ค่ะ
ความห่วงใย          
ตั้งแต่ที่โตมาแม่คอยห่วงใยลูกตลอดไม่ว่าลูกจะอยู่ที่ไหนทำอะไร แม่จะโทรหา แล้วถามว่าเป็นยังไงบ้าง สบายดีมั้ย? ลูกก็ห่วงแม่เหมือนกัน ความห่วงใยที่แม่มีให้นั้น มันมากจนไม่มีอะไรที่จะเปรียบเทียบได้ว่าใครที่ห่วงเราเท่าแม่
อภัย         
ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันลองนับดูสิว่าเราทำผิดต่อแม่กี่ครั้งแล้ว แล้วกี่ครั้งที่แม่อภัยให้เรา คำตอบที่ลูกหาได้คือ ทุกครั้ง แม่อภัยให้ลูกเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรแม่ก็จะให้อภัยลูก ถ้าลูกทำผิดกับแม่ คำพูดที่แม่จะพูดกับลูกคำเดียวคือ ไม่เป็นไรจ้ะ นี่แหละคือ แม่อภัยให้เรา 
ชีวิต        
ใครล่ะ?ที่เป็นคนอุ้มท้องเรามา เก้าเดือน ใครที่คอยดูแลเรา ที่ลูกโตได้ถึงทุกวันนี้ ลูกคือ ชีวิตที่แม่ให้มา ถ้าลูกเป็นอะไรไปลูกเชื่อว่า แม่เท่านั้นที่จะให้ชีวิต สละชีวิตกับลูกได้ และลูกก็อยากบอกแม่ว่า ชีวิตลูก ลูกก็ให้แม่ได้ค่ะ
ความรักที่ไม่มีความสำคัญ
ลูกเคยเห็นแม่สำคัญบ้างไหม ลองย้อนกลับไปถามตัวเองว่า ที่แม่ให้เรามา เราให้อะไรแม่ไป คำตอบคือ ดื้อรั้น เกเร เอาแต่ใจ ติดเพื่อน
ดื้อรั้น           
แม่ให้ความรักกับลูกมา ลูกก็ไม่เคยสนใจ ลูกกลับดื้อรั้นใส่แม่ ถือเป็นการตอบแทนความรักที่แม่ให้ งั้นหรอ?
เกเร         
ความเกเรของลูก แม่สั่งสอนเท่าไหร่ก็ไม่ฟังความห่วงใยที่แม่ให้มา ลูกขอตอบแทนแม่โดยการเกเร
เอาแต่ใจ        
ลูกคนนี้เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ ลูกก็รู้ตัว แต่ลองนึกย้อนกลับไป ลูกเอาแต่ใจตัวเองแล้วแม่ให้อภัยหรือป่าวล่ะ?
ติดเพื่อน        
ก็แม่เป็นคนให้ชีวิตลูกมานี่ ให้มาแล้วก็แล้วกัน ชีวิตก็ถือว่าเป็นของลูกแล้ว ลูกเลยถือโอกาสตอบแทนแม่ด้วยการ ติดเพื่อน โทรศัพท์คุยกันนั่นแหละ ทั้งวันทั้งคืน
ที่ลูกทำมาทั้งหมดลูกอยากบอกว่า ...ลูกรักแม่และจะสู้เพื่อแม่ค่ะ                      สตรีใดไหนเล่าเท่าเธอนี้         เป็นผู้ที่ ลูกทุกคนบ่นรู้จัก
เป็นผู้ที่ มีพระคุณการุณนัก                 เป็นผู้ที่ สร้างความรักสอนความดี
           เป็นผู้ที่คอยสั่งสอนเอาใจใส่     คอยห่วงใยเราทุกคนจนวันนี้
เปรียบแสงทองสว่างล้ำนำชีวี                 เธอคนนี้คือเเม่ ของเราเอง   

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทความสู้เพื่อแม่              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทความสู้เพื่อแม่

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โครงการ "ครึ่งไร่คลายจน" ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง - Springnews

โครงการ "ครึ่งไร่คลายจน" ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง - Springnews
โครงการครึ่งไร่คลายจน ของนายอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการใช้ที่ดินรอบๆบ้านพั­กของตนเองซึ่งเป็นดินลูกรัง มาทำการเกษตรผสมผสาน เพื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบให้กับชุมชนต่างๆ­ในอำเภอ
<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/gy5Qahx6IgI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


ที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=gy5Qahx6IgI

Minecraft Lesson Special "Sufficiency Economy" "เศรษฐกิจพอเพียง"

Minecraft Lesson Special "Sufficiency Economy" "เศรษฐกิจพอเพียง"
โทน ผู้ซึ่งเป็นชาวนาได้อยู่อย่างฟุ่้มเฟือยซึ­่งเขาไม่รู้ตัวเอง เมื่อตกกลางคืนเขาได้ปุ๋ยวิเศษซึ่งสามารถท­ำให้ผลผลิตของเขาโตเร็วขึ้น ทำให้เขาใช้ขายใช้แลกเปลี่ยนจนหมดไป..จะเป­็นยังไงนั้นโปรดติดตาม... ครับ :)


ที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=rBFQ7QQCa5Q

รู้จัก "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ใน 3 นาที

รู้จัก "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ใน 3 นาที
 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คืออะไรมาเรียนรู้ไปด้วยกันได้ ใน 3 นาที ^^



ที่มาhttps://www.youtube.com/watch?v=G1arbHJVuEw

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

  จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
 พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง 

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
                        ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
                   ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว 
                   แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง 
                        “...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง 
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ที่มาhttp://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

ซอฟต์แวร์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์คือซอฟแวร์
ซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ (Software)คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เราไม่สามารถจับต้องซอฟต์แวร์ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเช่นแผ่นดิสก์ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการสรุปแล้วคือซอฟต์แวร์

ชนิดของซอฟต์แวร์

1. ซอฟต์แวร์ระบบ (ระบบ เช่นการบูตเครื่องการสำเนาข้อมูลการจัดการระบบของดิสก์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
- โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์การบริหารหน่วยความจำของระบบกล่าวโดยสรุปคือโปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix DOS Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 ฉัน 2000 NT) อาทิตย์ OS / 2 Warp Netware และลินุกซ์
- ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็นวัตถุรหัส เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) 2 ประเภทคือคอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (ล่าม) (เชื่อมโยง) เช่นภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น
- ยูทิลิตี้โปรแกรม (โปรแกรมยูทิลิตี้) คือ เช่นช่วยในการตรวจสอบดิสก์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ช่วยสำเนาข้อมูลช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้นโปรแกรมในกลุ่มนี้ ได้แก่ โปรแกรม Norton WinZip สแกนไวรัส Scandisk เพื่อนสนิท Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น
- ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic โปรแกรม) ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรมติดตั้งไดร์เวอร์และต่าง ๆ เช่นโปรแกรมติดตั้ง Windows ตั้งค่า Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound ไดร์เวอร์ซีดีรอมไดร์เวอร์เครื่องพิมพ์สแกนเนอร์ไดร์เวอร์ฯลฯ เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application ๆ โดยเฉพาะ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้วจึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ จนสามารถทำงานได้จริงตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากรซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชีซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลังซอฟต์แวร์ของการรถไฟซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคารซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัยซอฟต์แวร์ของการบินไทยซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น
3. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Software)คือ ๆ ไป ๆ โดยเฉพาะมีการปรับปรุงรุ่น (Version) สามารถแบ่งออกเป็นประเภท
- โปรแกรมประมวลผลคำ ๆ
- โปรแกรมตารางงานใช้สำหรับคำนวณสร้างกราฟและจัดการด้านฐานข้อมูล
- โปรแกรมนำเสนอผลงาน
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลคือ
โปรแกรมเว็บเพจ
โปรแกรมสื่อสารระยะไกล
โปรแกรมเขียนแบบใช้ในการออกแบบและเขียนแบบด้านต่าง ๆ เช่นชิ้นงานอาคาร
- โปรแกรมการฟิกส์
โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ได้แก่ เกมส์ภาพยนต์และเสียงเพลงต่าง ๆ
สรุปแล้วคือซอฟต์แวร์ นั่นเองครับ
ที่มาhttp://www.dekdev.com/ซอฟต์แวร์-software-คืออะไร-2662012/

Thailand4.0

Digital 4.0 ยุค Machine-2-Machine ความฉลาดของเทคโนโลยีจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ คุยกันเองได้โดยอัตโนมัติโดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก เช่นรถยนต์...